เมนู

9. ปริญเญยยสูตร *



ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ 4



[1709] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ 4 ประการนี้ 4 ประการ
เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ 4
ประการนี้แล บรรดาอริยสัจ 4 ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ
ที่ควรกระทำให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่ ก็อริยสัจที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน
ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจ
ควรกระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรให้เกิดมี ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ
เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบปริญเญยยสูตรที่ 9

10. ควัมปติสูตร



ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่า เห็นในสมุทัย นิโรธมรรค



[1710] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ
แคว้นเจดีย์ ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระมากรูปกลับจากบิณฑบาตในเวลา
ปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันขึ้นในระหว่างประชุมว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอแลย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข-
สมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
* สูตรที่ 9 ไม่มีอรรถกถาแก้.

[1711] เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระวัมปติ-
เถระ ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟังมา ได้รับ
มาในที่เฉพาะพระพักตร์ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า
ย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใด
ย่อมเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขนิโรธ แม้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์
แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ.
จบควัมปติสูตรที่ 10
จบโกฏิคามวรรคที่ 3

อรรถกถาควัมปดีสูตร



พึงทราบอธิบายในควัมปติสูตรที่ 10
คำว่า สหชนิยะ ได้แก่ ในพระนครที่มีชื่อว่า สหชนิยะ. คำ
เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้
ทุกขสมุทัย ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอำนาจการแทงตลอด
อย่างเดียว. ก็ในพระสูตรนี้ ได้ตรัสการแทงตลอดอย่างเดียวเท่านั้นแล.
จบอรรถกถาควัมปติสูตรที่ 10
จบโกฏิคามวรรควรรณนาที่ 3

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมวัชชีสูตร 2. ทุติยวัชชีสูตร 3. สัมมาสัมพุทธสูตร
4. อรหันตสูตร 5. อาสวักขยสูตร 6. มิตตสูตร 7. ตถสูตร 8.
โลกสูตร 9. ปริญเญยยสูตร 10. ควัมปติสูตร และอรรถกถา